“อิคิไก” หรือหลักปรัชญาการใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น ถือเป็นหลักสูตรเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและมีความสุข มีความพอใจอย่างเรียบง่ายกับสิ่งที่ทำและสร้างแรงบันดาลใจให้เราค้นหาความหมายของชีวิต โดย “เหตุผลในการมีชีวิตอยู่” ตามหลักปรัชญาอิคิไก ต้องมีองค์ประกอบครบดังนี้
- สิ่งที่รัก
- สิ่งที่ใส่ใจ
- สิ่งที่โลกต้องการ
- สิ่งที่สร้างรายได้
ถ้าเรามองอิคิไก เป็นโจทย์หรือเป้าหมายในการทำงาน คือ ได้ทำงานที่เรารักและถนัด โดยได้ใช้ความรู้ความสามารถในสิ่งที่เป็นที่ต้องการในธุรกิจ และให้การทำงานในทุกวันมีความหมายในระยะยาว เราสามารถพัฒนาตนเองในด้านใดบ้างเพื่อให้ไปถึงจุดนี้
ก่อนอื่น จะรู้ว่าเรารักที่จะทำอะไรต้องเริ่มต้นจากตัวเอง ผู้ที่มี Self-leadership จะได้เปรียบในข้อนี้ เมื่อชีวิตอยู่ในมือเรา เราย่อมสามารถออกแบบอนาคตได้ ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองในการทำสิ่งต่างๆ ลองศึกษาหลักสูตรการสร้างแรงบันดาลใจและลองลงมือทำสิ่งใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การค้นพบสิ่งที่ชอบได้เร็วยิ่งขึ้น และยังมีแรงผลักดันที่จะทำในสิ่งนั้นด้วยความตั้งใจเต็มที่ หากยังรู้สึกว่าขาดแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ การเข้าอบรมเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจก็ถือเป็นตัวช่วยอีกหนึ่งทางที่สามารถทำให้เราริเริ่มในการค้นหาความหมายของชีวิตหรือสิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริงได้อย่างง่ายขึ้น
เมื่อพบสิ่งที่เราถนัดและใส่ใจที่จะทำแล้ว สิ่งต่อมาที่จะต้องเจอไม่ว่าทำอาชีพอะไร ก็คืออุปสรรคที่จะเข้ามาทำให้เราเกิดความเหนื่อยล้าหรือท้อใจที่จะทำสิ่งนั้น เพราะการจะทำอะไรสักอย่างจนเกิดความชำนาญและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ต้องอาศัยเวลาและความอดทน สิ่งที่จะช่วยสร้างพลังให้เราไปต่อได้ คือ Growth Mindset ซึ่งเป็นหนึ่งใน Workshop สร้างแรงบันดาลใจที่ทำให้เรามองเห็นในสิ่งที่ขาด และเข้าใจวิธีพัฒนาทักษะเพิ่มเติมเพื่อให้ไปถึงจุดที่ต้องการได้
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เราทำ คือสิ่งที่โลกต้องการ วิธีคิดแบบ Design Thinking หรือกระบวนการสร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ โดยพิสูจน์มาแล้วทั่วโลกว่าการยึดความต้องการหรือการแก้ปัญหาของลูกค้าเป็นหลัก คือแนวทางการสร้างสินค้าหรือบริการที่จะประสบความสำเร็จ ที่ไม่ได้เพียงแค่ทำให้เรามีความสุข แต่ยังทำให้ลูกค้าหรือผู้ที่ใช้บริการได้ความสุขและความพอใจเช่นกัน
หลักปรัชญาที่พาไปค้นพบความหมายของชีวิตอาจดูเป็นสิ่งจับต้องยาก แต่เมื่อมองเป็นจุดหมายในการพัฒนาตัวเอง การทำให้เป้าหมายเป็นจริงก็ไม่ไกลเกินการวางแผนและพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
ที่มาเนื้อหา Ikigai จาก:
https://medium.com/better-humans