อย่ารอให้ทุกอย่างเพอร์เฟ็กต์

The Project Management Triangle – ถูก เร็ว และดี ไม่มีจริง

บางครั้ง การทำโปรเจคก็อาจไม่ได้ดั่งใจเราทุกอย่าง ถ้ามองด้วยโมเดล project management triangle งบประมาณ คุณภาพของงาน และความเร็ว ทุกสิ่งมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ project manager ที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญ ว่าสิ่งไหนมาก่อนหลัง

 

  • fast + good = ถ้าทั้งเร็วและคุณภาพดี ราคาแพงแน่นอน
  • good + cheap =  ถ้าอยากได้ถูกและดี ก็ต้องรอหน่อย
  • cheap + fast =  ถ้าทั้งถูกทั้งเร็วล่ะก็ อย่าได้หวังคุณภาพ

 

โปรเจคในฝันที่ทั้งถูก เร็ว และดี ไม่มีในโลก ในความเป็นจริง เราเลือกได้แค่สองสิ่งเท่านั้น ในขั้นการวางแผนจึงต้องถามตัวเองให้ครบทุกมุมว่า เป้าหมายคืออะไร ต้องการให้คุณภาพของงานออกมาดีแค่ไหน มีเวลาเตรียมงานถึงเมื่อไหร่ และที่สำคัญ มีงบประมาณอยู่เท่าไหร่ เพราะถ้างานเร่ง หรืองบประมาณไม่ถึงแล้วล่ะก็ กระทบกับคุณภาพของงานอย่างแน่นอน การวางแผนให้ทุกอย่างสัมพันธ์กัน จะช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น และมีความคาดหวัง รวมถึงแผนการดำเนินงานที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

 

Fail fast and fail cheap – ประหยัดทั้งเวลา และงบประมาณ

เมื่อคุณมีการวางแผนที่ดีที่รอบคอบแล้ว ก็ต้องลุยให้เต็มที่ และเตรียมพร้อมเสมอสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด เพราะเวลาที่เริ่มงานไปแล้วจริงๆ อาจมีสิ่งที่ไม่ตรงตามที่แผนที่วางไว้ การตัดสินใจแก้ปัญหาจะต้องทำอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ประหยัดทั้งเวลา และงบประมาณ

 

ตัวอย่างเช่น เมื่อเริ่มโปรเจคไปแล้วระยะหนึ่ง อาจมีบางปัจจัยที่ทำให้งานล่าช้ากว่า timeline ที่กำหนดไว้ คุณอาจจะแก้ไขโดยการปรับหรือเปลี่ยนสิ่งที่เป็นตัวปัญหา เพื่อให้ทุกอย่างเสร็จตาม deadline เดิม และคงคุณภาพที่ต้องการไว้ได้ หรือคุณอาจจะเลือกที่จะเลื่อน deadline ออกไป เพื่อให้คุณภาพคงเดิม โดยที่งบไม่บานปลาย สิ่งสำคัญคือการมองเห็นปัญหาให้ได้ไว และตัดสินใจให้ทัน

 

ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับ priority ของคุณ ส่วนไหนในโปรเจคที่สามารถ compromise หรือ “ยอม” ให้ไม่เป็นอย่างที่วาดฝันไว้ได้ แต่ความพร้อมและความสามารถในการติดสินใจปรับในจุดต่างๆ จะทำให้โปรเจคไปต่อได้ตลอดรอดฝั่ง

 

Prototype and Test – สร้างต้นแบบและทดสอบก่อน

ไม่ว่าคุณจะต้องการทำสินค้า หรือสร้างบริการอะไรขึ้นมาใหม่ จะต้องมีช่วงลองผิดลองถูก แต่จะอุ่นใจกว่ามั้ย ถ้ามีเครื่องมือที่ช่วยให้เราเจ็บตัวน้อยกว่า และรู้จุดที่ต้องปรับปรุงได้เร็วกว่า

 

การทำตัวต้นแบบและการทดสอบ หรือขั้นตอน Prototype and Test ในกระบวนการ Design Thinking คือการทดสอบว่าไอเดียของเราจะได้ผลตอบรับจากลูกค้าที่ลองสัมผัส เหมือนกับที่เราคิดไว้ในหัวรึเปล่า และจะช่วยให้เราได้ feedback เพื่อนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้นผ่านการเก็บข้อมูลจากคนทดลองใช้ จะทำให้ได้ความเข้าใจว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ตอบโจทย์จริงๆ เมื่อทำขั้นตอนนี้ซ้ำๆ กำจัดไอเดียที่ใช้ไม่ได้ทิ้ง และพัฒนา product ใหม่ให้ดีกว่าเดิม ก่อนที่จะลงทุนลงไปผลิตหรือสร้างบริการจริงขึ้นมา จะช่วยประหยัดทั้งงบประมาณและเวลาได้อย่างมหาศาล

 

เวิร์คช็อป Design Thinking 4: Prototype and Test จะพาคุณไปสร้างแบบจำลองที่ใช่ เพื่อให้ได้สินค้าที่คนต้องการ ให้เกิดความเข้าใจจากประสบการณ์การลงมือทำ เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนา product จริงได้

ที่มา:

The Decision Book: Fifty Models for Strategic Thinking by Mikael Krogerus and Roman Tschäppeler

Loading

บทความอื่นๆ