เก่งไม่เก่ง อยู่ที่ปรับตัวเป็นรึเปล่า?

เก่งไม่เก่ง อยู่ที่ปรับตัวเป็นรึเปล่า?

เก่งไม่เก่ง วัดที่อะไร?

IQ ดี EQ ก็มี แต่ถ้าไม่มี AQ ก็ไม่ได้ไปต่อ

  1. – IQ (Intelligence Quotient): ความฉลาดทางสติปัญญา รวมถึงความรู้และความเข้าใจในข้อเท็จจริงต่างๆ
  2. – EQ (Emotional Quotient): ความฉลาดทางอารมณ์ รวมถึงความสามารถในการเข้าใจตัวเองและผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ
  3. – AQ (Adaptability Quotient): ความฉลาดในการปรับตัว ซึ่งทำให้อยู่รอดได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

สำหรับการทำงานในยุคใหม่ AQ ก็คือความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้ตอบโจทย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในโลกของธุรกิจได้ทัน ด้วยเหตุผลนี้ คนที่มี “ทักษะ” AQ จึงกลายเป็นคนที่มีข้อได้เปรียบในการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเรียกได้ว่าทักษะนี้ คือ หนึ่งในตัวชี้วัดความสำเร็จในการทำงานแห่งโลกอนาคตเลยก็ว่าได้

AQ สร้างได้

เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งจำเป็น

ขั้นตอนแรกคือการยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมอยู่เสมอ โดยเริ่มจากการเปิดรับมุมมองใหม่ๆ ไม่ว่าจะด้วยการถามคำถาม หรือขอ feedback ว่าเราสามารถมีส่วนร่วมอย่างไรได้ไปในการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้ยินอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คุณอยากฟังซะทั้งหมด แต่รับรองว่า feedback ที่ได้ จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าตัวเองจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้ไปต่อได้อย่างราบรื่น

รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่จะเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง หรือการทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ชำนาญ แต่พฤติกรรมลังเลหลีกเลี่ยงแบบนี้ ทำใหเกิดความเสี่ยงในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้อยู่รอด

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า คุณคือผู้ตัดสินชะตากรรมสิ่งที่จะเกิดขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเจออุปสรรคหรือความท้าทายใด ก็รู้จักปรับเปลี่ยนวิธีการและกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้

แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เป็น

เมื่อถึงเวลาต้องหาวิธีแก้ปัญหา คำถามสำคัญที่ต้องหัดถามไว้คือ “เราทำอะไรได้อีกบ้าง” วิธีคิดแบบนี้เหมาะมากสำหรับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะจะช่วยทลายวิธีการทำงานแบบไซโลหน้าที่ใครหน้าที่มัน สร้างแรงบันดาลใจในการคิดวิธีใหม่ๆ และช่วยประเมินสถานการณ์เมื่อจำเป็นต้องตัดสินใจไปกับทางเลือกที่มีความเสี่ยง

ข้อสังเกตในวิธีคิดนี้คือ “การทำอะไรได้อีกบ้าง” ไม่ได้หมายถึงการทำสิ่งเดิมๆ ให้มากขึ้น แต่หมายถึง “การคิดหาวิธีทำสิ่งใหม่ๆ”

ลงมือทำเพื่อเดินหน้าต่อไป

สุดท้ายแล้วการลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จไม่ได้ หากไม่มีความไว้วางใจกันภายในทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องมีตลอดทุกขั้นตอนการทำงาน เพราะสมาชิกในทีมล้วนแต่มีส่วนรับผิดชอบในการไปถึงเป้าหมายด้วยกันทั้งหมด

ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทีมเปิดใจ แชร์กันได้อย่างตรงไปตรงมา และไม่กล่าวโทษกันเมื่อเกิดความผิดพลาด

ที่มา
https://www.inc.com

Loading

บทความอื่นๆ