
จริงอยู่ว่าการบรรเทาความเครียดของพนักงาน ไม่ใช่หน้าที่หลักของหัวหน้าหรือองค์กร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเหมือนกันว่าเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบที่จำเป็นต้องหาทางแก้ให้ไว ถ้าไม่อยากพังกันไปทั้งแผง!
ผลวิจัยจาก Gallup พบว่า พนักงานที่มีรู้สึกมีส่วนร่วมกับที่ทำงาน มีความระดับเครียดสะสมที่ต่ำกว่าพนักงานกลุ่มที่ไม่รู้สึกผูกพันกับองค์กรเลยอย่างเห็นได้ชัด
โดย 56% ของพนักงานที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แจ้งว่าพวกเขาไม่ค่อยประสบกับภาวะความเครียดเท่าไหร่ในการทำงาน เทียบกับ 30% ของพนักงานที่ไม่รู้สึกผูกพันกับองค์กร
เมื่อคนในองค์กรมีความเครียดสูงปรี๊ด ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำงานได้แบบ 100%
แล้วมีอะไรที่หัวหน้าทำได้บ้าง? ที่จะแสดงให้เห็นว่า #ทีมนี้พี่รัก มาดูกันเลย
1. ถามคำถามแสดงความห่วงใย (แบบไม่ปลอม)
เวลาคุย 1:1 กับลูกทีม แสดงออกให้เขาเห็นว่าคุณแคร์ด้วยการถามคำถามที่นอกเหนือจากเรื่องงานดูบ้าง อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น “ที่บ้านเป็นอย่างไรบ้าง?” “แมวสบายดีไหม? ”หรือไม่ก็ “อาทิตย์ที่ผ่านมาได้ทำอะไรสนุกๆ บ้าง?” สำคัญที่สุดคือต้องถามอย่างจริงใจ อย่าถามไปงั้น อย่าถามเพราะเป็นหน้าที่ ควรฝึกแนวคิด Outward mindset แล้วใส่ใจความรู้สึกของคนอื่นแบบจริงใจ นี่จะเป็นการค่อยๆ ทำลายกำแพง ลดช่องว่างระหว่างหัวหน้ากับลูกทีมไปทีละนิด แถมยังเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความเชื่อใจอีกด้วย
2. คุยกันเรื่องเป้าหมายให้ติดเป็นนิสัย
ลูกทีมของคุณต้องการความชัดเจน การพูดคุยเรื่องเป้าหมาย และความคืบหน้าในการเดินไปให้ถึงเป้านั้นบ่อยๆ ถือเป็นเรื่องดี เพราะมันแปลว่าเขาแคร์เรื่องความสำเร็จของตัวเอง และเป็นการทำให้เขารู้สึกว่าคุณแคร์เรื่องความสำเร็จของเขาด้วย ในฐานะหัวหน้า สิ่งที่คุณต้องทำก็คือช่วยเหลือลูกทีม (และองค์กรของคุณ) ด้วยการชี้แจงเรื่องความคาดหวังให้ชัดเจนที่สุด และติดตามความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ เมื่อลูกทีมเจอปัญหาติดขัดคุณจะได้รับรู้ และช่วยหาทางแก้ได้อย่างทันท่วงที
3. ทำดีก็ต้องชม!
เมื่อลูกทีมทำอะไรสำเร็จ ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน คำพูดง่ายๆ เช่น ”ขอบคุณ” หรือ “Good job!” จากหัวหน้าอาจมีความหมายมากกว่าที่คุณคิด ทำให้ติดเป็นนิสัย เพราะการ “มองเห็นค่า” ของทีมไม่ใช่แค่มีผลโดยตรงกับประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังมีผลต่อการมีส่วนร่วม และอัตราการลาอออกของพนักงานอีกด้วย
4. ถามฟีดแบค
การเปิดโอกาสให้ลูกทีมฟีดแบคการทำงานของคุณ ไม่ใช่แค่เป็นการเปิดพื้นที่ให้เขาได้แสดงความคิดเห็น แต่ยังเป็นการแสดงออกว่าความเห็นของเขามีค่า แล้วยิ่งคุณปรับตัวเองตามที่ได้รับฟีดแบคมา ก็ยิ่งเป็นการแสดงออกอีกว่าคุณเคารพในความเห็นนั้น เขารู้สึกดี คุณเองก็ได้ประโยชน์ การรับฟีดแบคอย่างเปิดใจและทำให้ดูเป็นตัวอย่างนี่แหละคือจุดเริ่มต้นของ Feedback Culture ที่แท้ทรู
การเป็นหัวหน้าไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากเรื่องงานที่ต้องเก่งแล้ว เรื่องคนก็ต้องเก่งไม่แพ้กัน
เรียนรู้ศาสตร์และศิลป์ของการเป็น “ผู้นำ” กับคอร์สเรียนยอดนิยมจาก Blanchard สถาบันสร้างผู้นำที่นาทีนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก ก่อตั้งโดยคุณ Ken Blanchard เจ้าของหนังสือขายดีตลอดกาล The One Minute Manager ประสบการณ์ 40 ปี สร้างผู้นำใน Fortune 500 และทั่วโลกมากว่า 150,000 คน เจ้าของหลักสูตรชื่อดังอย่าง Self-Leadership, SLII® และอื่นๆ ได้ที่ YourNextU ที่เดียว
คลิกเลย: https://www.yournextu.com/